วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

แบตเตอรี่ (Battery)

แบตเตอรี่

        แบตเตอรี่  (อังกฤษ: Battery) ในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึงอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้เก็บพลังงาน และนำมาใช้ได้ในรูปของไฟฟ้า แบตเตอรี่นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี เช่น เซลล์กัลวานิกหรือเซลล์เชื้อเพลิง อย่างน้อยหนึ่งเซลล์
เชื่อกันว่าหลักฐานชิ้นแรกสุดที่เป็นไปได้ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ในประวัติศาสตร์โลก คือ วัตถุที่เรียกว่าแบตเตอรี่แบกแดด (Baghdad Battery) คาดว่ามีอายุในช่วง 250 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 640 สำหรับพัฒนาการของแบตเตอรี่ในยุคใหม่นั้น เริ่มต้นที่ ที่พัฒนาขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี นามว่าอาเลสซานโดร โวลตา เมื่อ ค.ศ. 1800 ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสามารถสร้างรายได้จากการขายปีละ 4.8 หมื่นล้านดอลาร์สหรัฐเลยทีเดียว

แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และชนิดใช้แล้วทิ้ง

            จากมุมมองของผู้ใช้แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้; แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ และ แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ (ใช้แล้วทิ้ง) ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งสองชนิด
แบตเตอรี่ใช้แล้วทิ้งเรียกอีกอย่างว่า เซลล์ปฐมภูมิ ใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าที่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีเมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่เหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กและสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ไฟน้อยหรือในที่ที่ห่างไกลจากพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ
        ในทางตรงกันข้ามแบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้หรือ เซลล์ทุติยภูมิ สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้หลังจากไฟหมดเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้โดยการประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์
แบตเตอรี่ชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใช้อยู่จนกระทั่งปัจจุบันคือ "เซลล์เปียก" หรือแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด (lead-acid battery) แบตเตอรี่ชนิดนี้จะบรรจุในภาชนะที่ไม่ได้ปิดผนึก (unsealed container) ซึ่งแบตเตอรี่จะต้องอยู่ในตำแหน่งตั้งตลอดเวลาและต้องเป็นพื้นที่ที่ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เพื่อระบายก๊าซ ไฮโดรเจน ที่เกิดจากปฏิกิริยาและแบตเตอรี่ชนิดจะมีน้ำหนักมาก
รูปแบบสามัญของแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด คือแบตเตอรี่ รถยนต์ ซึ่งสามารถจะให้พลังงานไฟฟ้าได้ถึงประมาณ 10,000 วัตต์ในช่วงเวลาสั้นๆ และมีกระแสตั้งแต่ 450 ถึง 1100 แอมแปร์ สารละลายอิเล็กโตรไลต์ของแบตเตอรี่คือ กรดซัลฟิวริก ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อผิวหนังและตาได้ แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรดที่มีราคาแพงมากเรียกว่า แบตเตอรี่เจล (หรือ "เจลเซลล์") ภายในจะบรรจุอิเล็กโตรไลต์ประเภทเซมิ-โซลิด (semi-solid electrolyte) ที่ป้องกันการหกได้ดี และแบตเตอรี่ชนิดอัดไฟใหม่ได้ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกกว่าคือประเภท "เซลล์แห้ง" ที่นิยมใช้กันในโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เซลล์ของแบตเตอรี่ชนิดนี้คือ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88

แบตเตอรี่ปฐมภูมิ      แบตเตอรี่ปฐมภูมิ เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วไม่สามารถนำกลับมาชาร์จประจุเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่มักเรียกกันว่า “ถ่าน” มีอยู่หลายชนิด เช่น ถ่านอัลคาไลน์ ถ่านลิเทียม เป็นต้น แบตเตอรี่แบบนี้มีหลายขนาด ใช้ในวิทยุ นาฬิกา เก็บพลังงานได้สูง อายุการใช้งานสูง แต่เมื่อถูกใช้หมดจะกลายเป็นขยะมลพิษ
 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถ่านไฟฉายแบบอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งนั้นเป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักเดินป่าทั้งหลาย แต่ในระยะหลังนี้ถ่านไฟฉายอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นคือถ่านลิเธียม ซึ่งมีน้ำหนักเบา ให้พลังงานสูง ใช้ได้ดีในที่อากาศเย็นและสามารถเก็บไว้ได้นาน นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ผลิตยังได้ผลิตถ่านลิเธียมในขนาด AA ออกมาอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ตลาดถ่านไฟฉายในปัจจุบันไม่ได้แข่งที่ประเภทถ่านอัลคาไลน์หรือลิเธียมเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการแข่งขันกันระหว่างถ่านไฟฉายแบบที่ใช้แล้วทิ้ง (Throwaways) กับแบบที่สามารถประจุไฟเข้าไปใหม่ได้ (Rechargeables) หรือที่เรียกกันว่าถ่านแบบรีชาร์จ  ถ่านไฟฉายในตลาดปัจจุบันที่ใช้กันในการเดินป่า สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

        ถ่านคาร์บอนเคลือบสังกะสี (Carbon-zinc cells)
          ถ่านไฟฉายทั่วๆ ไปจะมีหลักการทำงานคร่าวๆ คือ ใช้คาร์บอนเป็นขั้วบวก หุ้มด้วยแอมโมเนียมคลอไรด์ และเคลือบด้านนอกด้วยสังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ เมื่อมีปฏิกิริยาทางเคมีเกิดขึ้นจะให้อิเล็กตรอนออกมา และเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง แต่ถ้าปฏิกิริยาเคมีดังกล่าวเกิดการย้อนกลับก็จะทำให้เราสามารถประจุไฟเข้าไปในแบตเตอรี่ใหม่ได้หรือที่เรียกว่าการรีชาร์จนั่นเอง
แต่ถ่านคาร์บอนเคลือบสังกะสีในประเภทนี้เป็นถ่านไฟฉายรุ่นแรกๆ ที่ไม่สามารถจะรีชาร์จได้ และในปัจจุบันก็ได้มีถ่านประเภทอื่นๆ ออกมาแทนที่จำนวนมากhttp://www.rta.mi.th/15900u/SDMP/Interest/Magazine/training.html




ถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable alkaline cells)

          ถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งได้เริ่มมีใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) ซึ่งเมื่อแรกเริ่มนั้นเป็นที่นิยมกันมากเพราะสามารถให้พลังงานได้มากกว่าถ่านไฟฉายแบบเก่า แต่ในระยะหลังเริ่มมีคนตระหนักกันถึงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เนื่องมาจากการใช้ถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้งกันมากขึ้น เนื่องจากไฟฉายประเภทนี้มีสารปรอทเป็นส่วนประกอบและเนื่องจากปริมาณการใช้งานที่นิยมกันมากจนทำให้เกิดปัญหาขยะมีพิษเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ดังนั้นผู้ผลิตจึงได้พยายามมากขึ้นที่จะพัฒนาถ่านอัลคาไลน์ให้ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ได้มีผู้ผลิตถ่านอัลคาไลน์แบบที่มีสารปรอทต่ำลงออกมา และในปี 1990 ก็ได้มีถ่านอัลคาไลน์แบบปลอดสารปรอทเกิดขึ้น (เช่นถ่านดูราเซลล์ และอีเนอร์ไจเซอร์ ที่นิยมกันในปัจจุบันนั่นเอง) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่มีปริมาณการใช้งานถ่านอัลคาไลน์จำนวนมากในปัจจุบันก็ยังก่อให้เกิดปัญหาเรื่องขยะพิษไปทั่วโลกอยู่ดี ยกตัวอย่างเช่น เฉพาะในประเทศอเมริกามีการทิ้งถ่านอัลคาไลน์จำนวนถึง 2 พันล้านก้อนต่อปี ข้อเสียที่สำคัญของถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้งนี้ก็คือจะมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมากในสภาพอากาศที่หนาวเย็น
 ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จ (Rechargeable alkaline) 

          ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จเริ่มมีใช้เมื่อ ค.ศ. 1993 ให้พลังงาน 1.5 โวลต์เท่ากับถ่านอัลคาไลน์แบบใช้แล้วทิ้ง แต่เมื่อมีการชาร์จใหม่เรื่อยๆ ประสิทธิภาพของถ่านจะลดลงตามจำนวนการชาร์จในแต่ละครั้ง ถึงแม้จะมีการดูแลรักษาและชาร์จอย่างดีก็ตาม เมื่อชาร์จไปประมาณสิบครั้งประสิทธิภาพจะลดลงเหลือประมาณ 60% และเมื่อชาร์จไปสามสิบครั้งประสิทธิภาพจะลดลงเหลือเพียง 40% และลดลงไปเรื่อยๆ ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จกับถ่านนิแคดจึงเห็นได้ชัดว่าถ่านนิแคดมีอายุการใช้งานนานกว่ากันมาก นอกจากนี้ เพื่อให้ถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด เราควรจะต้องรีชาร์จถ่านอย่างสม่ำเสมอและอย่าปล่อยให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยง และจำเป็นจะต้องใช้เครื่องชาร์จเฉพาะด้วย
          บริษัทเยอรมนีบริษัทหนึ่งได้ผลิตถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จยี่ห้อ Accucell ขึ้น โดยความสามารถมากขึ้น ซึ่งมีข้อดีที่สำคัญกว่าถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จสมัยก่อนคือสามารถรีชาร์จได้นับร้อยครั้งโดยที่ประสิทธิภาพไม่ตกลงไปมากนัก ทำให้มีคนหันมาให้ความสนใจและเป็นที่นิยมมากขึ้น
          ถ่านลิเธียม (Lithium cells)
          ได้มีการเริ่มใช้ถ่านลิเธียมครั้งแรกกับไฟฉายติดศีรษะที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะนั้นมีราคาแพงมากถึง 20 เหรียญสหรัฐ แต่มีอายุการใช้งานยาวนานมากและยังสามารถใช้งานในสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ได้อีกด้วย แต่เนื่องจากมันมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ จึงถูกห้ามนำขึ้นเครื่องบินไม่ว่าจะติดตัวขึ้นไปหรือใส่ในกระเป๋าเดินทางที่โหลดไว้ใต้เครื่อง ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตจึงได้พัฒนาถ่านลิเธียมประเภทนี้ออกมากลายเป็นลิเธียมธิโอนีลคลอไรด์ซึ่งใช้ได้ดีกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานต่ำ เช่น หลอด LED (Light-emitting diode) สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ มีการผลิตออกมาในขนาด AA และยังมีราคาที่ถูกลงอีกด้วย (ประมาณ 9 – 11 เหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับว่าถ่านก้อนหนึ่งสามารถใช้ได้นานหลายเดือน
          เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทเอเวอร์เรดี้ อีเนอร์ไจเซอร์ ได้ผลิตถ่านไฟฉายแบบลิเธียมไอร์ออนไดซัลไฟด์ (Lithium-iron disulfide) ในขนาด 1.5 โวลต์ AA ออกมาสำหรับใช้กับกล้องถ่ายรูปแบบอัตโนมัติ ข้อดีของถ่านชนิดนี้คือมีน้ำหนักเบากว่าถ่านอัลคาไลน์ถึง 60% และสามารถเก็บเอาไว้ได้นานถึงสิบปี แต่อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่าถ่านลิเธียมแบบนี้เมื่อเกิดปฏิกิริยาทางเคมีภายในแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพของตัวถ่านลดลงเมื่อใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ เช่น ไฟฉาย นอกจากนี้ ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ในการผลิตถ่านลิเธียมแบบนี้นั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานในการผลิตถ่านหนึ่งก้อนมากกว่าที่ตัวถ่านไฟฉายเองสามารถจะให้พลังงานได้ โดยใช้พลังงานในการผลิตมากกว่าถึง 50 เท่า ซึ่งความจริงที่น่าเศร้าอีกอย่างก็คือถ่านแบบนี้ไม่สามารถจะรีชาร์จใหม่ได้ด้วยhttp://www.rta.mi.th/15900u/SDMP/Interest/Magazine/training.html

ถ่านนิกเกิลแคดเมียมหรือนิแคด (Nickel-cadmium cells, Nicads)
          ถ่านนิแคดเป็นถ่านที่สามารถรีชาร์จได้ เริ่มมีใช้ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1950 และสามารถจะรีชาร์จใหม่ได้นับร้อยครั้ง แต่ในสมัยนั้น นักเดินป่าส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้ถ่านนิแคดเนื่องจากปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการชาร์จแบตเตอรี่ นั่นคือเราจำเป็นจะต้องใช้แบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงก่อนถึงจะชาร์จใหม่ได้ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดเมโมรี่เอ็ฟเฟ็กต์ (Memory Effect) ซึ่งหมายถึงการชาร์จแบตเตอรี่ได้เพียงบางส่วน ไม่สามารถชาร์จได้เต็มที่ ซึ่งเกิดจากการชาร์จแบตเตอรี่ในขณะที่แบตเตอรี่เดิมยังไม่หมดดี ทำให้การชาร์จครั้งต่อไปจะใช้เวลาสั้นลงเนื่องจากแบตเตอรี่จะเก็บความจำในการชาร์จที่สั้นที่สุดเอาไว้ และทำให้ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ลดน้อยลง หรือหากเราชาร์จทิ้งเอาไว้นานเกินไปก็จะทำให้แบตเตอรี่ร้อนมากและเสียหายได้อีกเช่นกัน ถ่านนิแคดยังให้พลังงานเพียง 1.2 โวลต์ซึ่งน้อยกว่าถ่านอัลคาไลน์ที่ให้พลังงาน 1.5 โวลต์อีกด้วย และนอกจากนี้สารแคดเมียมยังเป็นสารพิษที่อันตรายมากอีกด้วย
          อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาถ่านนิแคดให้มีคุณภาพดีขึ้นมาก สามารถรีชาร์จได้ง่ายขึ้น และยังมีองค์กรหรือสมาคม (ในต่างประเทศ) ที่คอยรับเก็บถ่านนิแคดที่ใช้แล้วเพื่อเอาไปรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งไม่ทำให้เกิดปัญหากับสภาพแวดล้อมอีกด้วย

         ถ่านนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal hydride, NiMH) 

          ถ่าน NiMH นี้มีประสิทธิภาพอยู่ตรงกลางระหว่างถ่านนิแคดและถ่านอัลคาไลน์รีชาร์จ ถ่าน NiMH ให้พลังงาน 1.2 โวลต์เหมือนถ่านนิแคดและสามารถชาร์จใหม่ได้หลายร้อยครั้งเช่นกัน แต่การชาร์จถ่าน NiMH จะไม่เกิดเมโมรี่เอ็ฟเฟ็กต์เหมือนถ่านนิแคด ตัวถ่าน NiMH จะสามารถรีชาร์จด้วยตัวเองประมาณ 1-4 % ของพลังงานที่เหลืออยู่ทุกวัน แต่เราไม่สามารถเก็บถ่าน NiMH เอาไว้ได้นานเท่ากับถ่านอื่นๆhttp://www.rta.mi.th/15900u/SDMP/Interest/Magazine/training.html
  • ไม่ควรนำแบตเตอรี่เก็บไว้ในตัวอุปกรณ์ หากยังไม่ได้ใช้งาน
  • ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของแบตเตอรี่

    Alkaline
    Alkaline Recharge
    Lithium
    Nicad
    Ni-MH
    Voltage
    1.5
    1.5
    1.6
    1.25
    1.2
    Initial Chart
    yes
    yes
    yes
    no
    no
    Capacity (mAh2)





    AAA
    900
    630
    n.a
    240
    600
    AA
    2200
    1750
    2900
    750-1100
    1300
    C
    5000
    4500
    n.a
    2400
    2200
    Weight (gram)





    AAA
    9 g
    9 g
    n.a
    10 g
    9 g
    AA
    24 g
    22 g
    14 g
    24 g
    25 g
    C
    70 g
    63 g
    n.a
    75 g
    75 g
    Self-discharge rate
    0.2 %
    0.2 %
    > 0.1 %
    20+%
    20+%
    Useful shelf life
    5 years
    5 years
    10 years
    short
    short
    Number of cycle
    1
    8-25
    1
    50-500+
    50-500+
    Cost per cycle
    high
    moderate
    very high
    very low
    very low
    Memory effect
    n.a
    no
    n.a
    high
    low
    Disposal hazard
    low
    low
    low
    very high
    low
     

    ตัวเครื่องหรือเคส (Case)

    เคส (Case) คืออะไร


             Case หรือ "เคส" คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU เมนบอร์ด การ์ดจอ ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=695334244496761775#editor/target=post;postID=9018766603671415435



    รูปแบบของ Case


        1.Case แนวนอน




    2.Case แนวตั้ง



                    
               รูปร่างของ เคส(Case) จะแตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบของผู้ผลิต ส่วนวัสดุที่ใช้ทำเคสนั้น มีทั้งโลหะ พลาสติก อะลูมิเนียม อะคลีลิก และก็วัสดุผสม  http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=695334244496761775#editor/target=post;postID=9018766603671415435
         

    เมนบอร์ด (Mainboard)

    เมนบอร์ด (Mainboard)

          
              เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเมนบอร์ดเปรียบเสมือนศูนย์กลางในการทำงาน และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, Hard Disk, CD-ROM, Floppy Disk, VGA Card เป็นต้น

    ลักษณะของเมนบอร์ด และส่วนประกอบต่างๆ บนเมนบอร์ด

             ในอดีตเราแบ่งเมนบอร์ดออกเป็น 2 ประเภท คือ AT กับ ATX แต่ในปัจจุบันนี้ คงมีเพียง ATX เท่านั้น ที่นิยมใช้กัน เมนบอร์ดแบบ ATX นี้ ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ ATX และ MicroATX ซึ่งมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของขนาด สล็อต และอุปกรณ์ออนบอร์ด โดยเมนบอร์ดแบบ MicroATX จะมีขนาดเล็กกว่า มีจำนวนสล็อตน้อยกว่า และจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ออนบอร์ดไว้ให้อย่างครบถ้วน เช่น ระบบแสดงผลออนบอร์ด ซึ่งจะทำให้เมนบอร์ดมีขนาดเล็ก เพราะมีการติดตั้งสล็อตสำหรับเพิ่มเติมอุปกรณ์ออกไป
      
    ส่วนประกอบของเมนบอร์ดที่สำคัญๆ มีดังนี้

    1. ชิปเซ็ต (Chipset)

           เมนบอร์ดจะมีความสามารถในการรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับชิปเซ็ตเป็นหลัก สำหรับหน้าที่ของชิปเซ็ต คือ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ หลักๆ คือ
    1.1 NorthBridge
          ชิปเซ็ตที่กำหนดว่าเมนบอร์ดของคุณนั้น มีความสามารถในการรองรับความเร็วของซ๊พียูได้ในระดับไหน หรือ สนับสนุนหน่วยความจำประเภทไหนได้บ้าง โดยชิปเซ็ตนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสสูงๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ และการ์ดแสดงผล
    1.2 SouthBridge
             ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสไม่สูงมากนัก เช่น พอร์ต IDE   ระบบบัส PCI และอื่นๆ โดยชิปเซ็ต SouthBridge ที่เด่นๆ ในปัจจุบัน คือ ICH4 ของอินเทล ซึ่งเป็นการรวมความสามารถของ ยูเอสบี 2.0 และ ATA 100 มาไว้ในตัวด้วย ส่วนถ้าหากเป็นของทางค่าย SiS ก็จะมีตัว SiS961และ VIA VT8233A ของฝั่ง VIA

    2. สล็อต หรือ ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียู
           เป็นส่วนที่ใช้สำหร้บเสียบซีพียูลงไป ซึ่งเมนบอร์ดส่วนไหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จะเป็นแบบซ็อกเก็ตมากกว่าที่จะเป็นแบบสล็อต เพราะมีต้นทุนในการผลิตที่ถูกกว่านั่นเอง เรามารู้จักสล็อต และซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียูกันดีกว่า
    2.1 Slot สำหรับอินเทอร์เฟตแบบสล็อตนี้ ก็จะมีทั้งแบบสล็อต 1 สล็อต A ขึ้นอยู่กับซีพียูที่คุณใช้ หากเป็นของทางฝั่งอินเทล ก็จะเป็นแบบสล็อต 1 หรือหากเป็นเอเอ็มดี ก็ใช้แบบสล็อต A แต่ในปัจจุบันนี้ เราไม่ค่อยพบเห็นเมนบอร์ดที่เป็นแบบสล็อตแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้กับซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมแบบเก่า
    2.2 Socket รูปแบบของเมนบอร์ดที่เป็นชนิดซ็อกเก็ตในปัจจุบันนี้ เป็นที่นิยม และ แพร่หลายมาก ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ก็เป็นแบบซ้อกเก็ตหมดแล้วหากเป็นซีพียูเพนเทียม โฟร์ ก็จะมีอินเทอร์เฟตแบบซ็อกเก็ต 478 หรือถ้าเป็นตระกูลเพนเทียม ทรี และ เซลเลอรอน จะจะเป็นแบบซ้อกเก็ต 370 สำหรับซีพียูในตระกูลเอเอ็มดี ก็จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบซ็อกเก็ต A หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ซ็อกเก็ต 462 โดยจำนวนตัวเลขที่เห็นอยู่นั้น แสดงถึงจำนวนขาของซีพียูนั่นเอง

    3. BIOS (Basic Input/Output System)
            เป็นชิปสำหรับใช้เก็บโปรแกรม และข้อมูลขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตระบบของคอมพิวเตอร์และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ การเซ็ตค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์ ไบออสรุ่นใหม่ๆ จะสนับสนุนการทำงานแบบ Plug & Play และเราสามารถทำการอัพเดตไบออสให้รองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Flash ROM ซึ่งหน่วยความจำแบบ ROM นี้อาศัยไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้แม้ปิดเครื่อง

    4. สล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำหลัก
          ในปัจจุบัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่มักจะมีสล็อตติดตั้งหน่วนความจำหลักมาให้อยู่ 3 ชนิด ได้แก่ หน่วนความจำแบบ SDRAM, DDR SDRAM สล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ มีลักษณะเป็นแถวเรียงกันอยู่ใกล้ๆกับชิปเซ็ต และซีพียู
    4.1 สล็อตสำหรับ SDRAM เป็นสล็อตแบบ DIMM ขนาด 168 พิน สังเกตได้จากในภาพว่าใน 1 สล็อต จะมีช่องแบ่งไว้ 2 จุด ใช้ได้กับเฉพาะหน่วยความจำแบบ SDRAM เท่านั้น
    4.2 สล็อต DDR SDRAM สำหรับสล็อตแบบนี้ เราเรียกสล็อตแบบ DDR DIMM มีขนาด 184 พิน โดยข้อแตกต่างที่สังเกตได้ง่าย คือ ตรงส่วนของสล็อต จะมีช่องแบ่งเพียงแค่ 1 จุด ใช้ได้กับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM
    4.3 สล็อตสำหรับ RDRAM หรือเียนกันว่า RAMBUS ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานร่วมกับซีพียูเพนเทียม โฟร์ โดยเฉพาะ เพราะเป็นหน่วยความจำที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาหน่วยความจำชนิดอื่น สล็อตโมดูลของหน่วยความจำแบบ 184 พิน ซึ่งสังเกตได้จากช่องที่แบ่งจะอยู่ตรงกลาง 2 จุด

    5. สล็อตเสริมสำหรับเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติมต่างๆ

           ในเมนบอร์ดที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้ติดตั้งสล็อตเสริมเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานมาให้ด้วย ซึ่งสล็อตที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย
    5.1 สล็อต PCI (Peripheral Component Interconect) เป็นสล็อตลักษณะยาวๆ สีขาว แต่ช่วงหลังๆ ผู้ผลิตต่างออกแบบให้มีสีสันที่สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ สล็อต PCI นี้ เป็นช่วงสำหรับรองรับกับการ์ดต่างๆ ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มีการส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต และมีความเร็ว 33 เมกะเฮิรตซ์
    5.2 สล็อต ISA (Industry Standard Architecture) สำหรับสล็อตแบบนี้ มีการส่งข้อมูลครั้งละ 16 บิต มีลักษณะสีดำ รูปร่างของสล็อตจะมีขนาดที่ยาวกว่าสล็อต PCI เล็กน้อย ซึ่งปัจจุบันเราแทบไม่ค่อยได้พบเห็นสล็อต ISA ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ แล้ว ทั้งนี้เพราะการ์ดที่ออมมามักจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI กันหมดแล้ว
    5.3 สล็อต AGP (Accelerated Graphics Port) สล็อต AGP มีความเร็วในการทำงานเป็น 66 เมกะเฮิรตซ์ 32 บิต และสนับสนุนเทคโนโลยี AGP2x ที่ใช้ช่วงแบนด์วิดธ์ในการรับ-ส่ง ข้อมูลได้มากถึง 2.1 กิกะไบต์ต่อวินาที สำหรับสล็อต AGP จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูล ระหว่างการ์ดแสดงผลกับชิปเซ็ตของระบบทำได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบสามมิติ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
    5.4 สล็อต CNR (Communication and Networking Riser) ในเมนบอร์ดบางรุ่น บางยี่ห้อจะติดตั้งสล็อต CNR มาให้ด้วย ซึ่งสล็อตชนิดนี้ ใช้สำหรับใส่การ์ดจำพวกเน็ตเวิร์ค และการ์ดโมเด็ม ที่เป็นแบบรวมความสามารถทั้งสองอย่างเช้าด้วยกัน

    6. IDE Connector

            เป็นส่วนที่ใช้ต่อกับอุปกรณ์จำพวกดิสก์ไดรฟ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม หรือ ฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งอินเทอร์เฟซของ IDE ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดิสก์ไดรฟ์นี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนามาถึงเทคโนโลยี ATA 100 และ ATA 133 แล้ว ซึ่งจะมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 100 และ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที สำหรับการทำงานของ IDE นี้ ถูกควบคุมโดยชิปเซ็ตด้าน SouthBridge และในอนาคตก็จะมีเทคโนโลยี Serial ATA ออกมาแทนเทคโนโลยี IDE แล้วด้วย เพราะเทคโนโลยี Serial ATA นี้ สามารถพัฒนาให้มีความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า 150 เมกะไบต์ต่อวินาที

    7. พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกต่างๆ

            พอร์ตต่างๆ เหล่านี้ จะอยู่ด้านหลังของเคส ในกรณีที่คุณประกอบเมนบอร์ดลงไปในเคสแล้ว โดยประกอบด้วย พอร์ต PS/2 ที่ใช้สำหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด อีกทั้งยังมีพอร์ต Serial หรือ พอร์ตอนุกรม ซึ่งเป็นคอนเน็กเตอร์แบบ DB-9 มี 9 ขา ต่อมาก็เป็นพอร์ตพาราเรลสำหรับต่อพรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ หากเป็นเมนบอร์ดที่มีระบบเสียงออนบอร์ด ก็จะเพิ่มพอร์ต Audio มาให้ด้วย หรือถ้าเป็นระบบการแสดงผลออนบอร์ด ก็จะเพิ่มพอร์ต DB-15 สำหรับต่อกับจอมอนิเตอร์ นอกจากนี้ ยังมีพอร์ต ยูเอสบี ซึ่งแบ่งเป็น USB เวอร์ชัน 1.1 ที่มีความเร็ว 12 เมกะบิตต่อวินาที และ USB เวอร์ชัน 2.0 มีความเร็ว 480 เมกะบิตต่อวินาที https://sites.google.com/site/watcharintr/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94mainboard



    อุปกรณ์จ่ายกระแสไฟ (Power Supply)



    เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Suppy)         

             แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าเพาว์เวอร์ซัพพลาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์
    โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่อง ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายใ
    นแหล่งจ่ายไฟจึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น
    อาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย ปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีการเลือกซื้อพาว์เวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่องจากตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส
     
             เพาว์เวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
             1. แบบ AT
             2. แบบ ATX




    ปัญหาที่เกิดจาก Power Supply
             คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงานซึ่งต้องอาศัย power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องดัวนั้นหากอุปกรณ์ตัวนี้มีปัญหาหรือเสียซึ่งทำให้เราปวดหัวได้เหมือนกัน
             power supply คือ power supply เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อจ่าย ให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอก็จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย
             power supply เป็นอุปกรณ์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับเครื่องของเราได้ หาก power supply เสียก็มักไม่ซ่อมกันเพราะไม่คุ้ม เพราะราคาของไหม่เพียง 500-800 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการเสียของคอมพิวเตอร์หลายอย่างที่มักเกี่ยวข้องกับ power supply ด้วยเช่นกัน เครื่องทำงานรวนตรวจเช็คอุปกรณ์มนเครื่องแล้วไม่เสีย อยากทราบสาเหตุอาการแบบนี้เป็นอาการเสียที่มักคาดไม่ถึงเพราะหาสาเหตุยากเนื่องจากช่างส่วนใหญ่จะคิดว่าอาการรวนของเครื่องมาจาก แรม ซีพียู เมนบอร์ด เท่านั้น แต่ไม่ได้นึกถึง Power supply จึงข้ามการตรวจสอบในส่วนนี้ไปหากนำ Power supply ที่สงสัยมาตรวจวัดมาตรวจวัดแรงดันไฟจะพบว่าจ่ายกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอซึ่งมีสาเหตุมาจากชำรุดเพราะใช้งานมานานหรือใช้ชิ้นส่วนราคาถูกจึงทำให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แรม ซีพียู เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ พลอยทำงานไม่ได้ไปด้วย ซึ่งการแก้ไขก็คือให้เปลี่ยน Power supply ตัวใหม่ เครื่องก็จะทำงานได้ดีดังเดิม
             สำหรับวิธีตรวจวัดแรงดันไฟของ Power supply มีดังนี้
             1. ถอด Power supply และสายขั้วต่อจ่ายไฟที่โหลดให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกและนำออกมาจากเคส
             2. ปลอกสายไฟเส้นเล็กทั้งสองข้างและนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีเขียวและอีกข้างหนึ่งเสียบเข้ากับช่องต่อของสายเส้นสีดำของขั้วจ่ายไฟสำหรับ เมนบอร์ดของ Power supply
             3. นำสายจ่ายไฟจาก Power supply เสียบเข้ากับขั้วรับไฟของซีดีรอมไดร์เพื่อยึดการ์ดแลนเข้ากับอุปกรณ์
             4. นำสายไฟเข้ากับขั้วรับท้าย Power supply และนำปลายอีกข้างหนึ่งไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้าน
             5. นำขั้ววัดไฟลบ (สายสีดำ) ไปเสียบเข้ากับจ่ายไฟสายสีดำและขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ไปเสียบเข้ากับขั้วจ่ายไฟสายสีเหลืองเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 12 V.ถูกต้องหรือไม่
             6. เปลี่ยนขั้ววัดไฟบวก (สายสีแดง) ของมิเตอร์ไปเสียบเข้ากับขัวจ่ายไฟสายสีแดง ส่วนขั้ววัดไฟลบของมิเตอร์ยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อจะตรวจดูว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาได้ 5 V.ถูกต้องหรือไม่
             7. หาพบว่า Power Supply จ่ายไฟออกมาสูงเกินหรือต่ำกว่า 5, 12 V. มากเกินไป แสดงว่าเสียให้เปลี่ยนตัวใหม่แทนเครื่องก็จะทำงานได้ตามปกติ

    พัดลมระบายความร้อนของ
    Power Supply เสียเปลี่ยนอย่างไร
             สำหรับผู้ที่เคยพบปัญหาเปิดเครื่องไม่ติดตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องทั้งหมดแล้วไม่เสีย จึงถอด Power Supply มาดู (สังเกตดูด้านหลังเครื่องก็ได้) พบว่าพัดลม Power Supply ไม่หมุนแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรสำหรับการแก้ไข คือ ต้องหาซื้อพัดลมตัวใหม่มาเปลี่ยนในราคาตัวละประมาณ 80 - 100 บาท โดยแกะฝา Power Supply และถอดพัดลมตัวเก่าออกและทำการบัดกรีเพื่อเชื่อมสายพัดลมตัวใหม่เข้าบวงจร โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
             1. เปิดฝาครอบ Power Supply ออกและถอดพัดลมระบายความร้อนตัวเดิมออกโดยใช้คีมตัดสายไฟพัดลมตัวเดิมออกจากวงจร
             2. นำพัดลมระบายความร้อนตัวใหม่ที่เตรียมไว้ใส่แทนโดยทำการบัดกรีจุดเชื่อมต่อสายไฟใหม่ด้วยหัวแร้งพร้อมตะกั่วบัดกรี ให้เชื่อมให้สนิทกัน
             3. ใช้เทปพันสายไฟพันปิดรอยเชื่อมต่อเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรแล้วปิดฝาเครื่องนำไปประกอบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และลองเปิดดู

    การเปลี่ยน
    Power Supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT
             ภาพแสดง ATX Power Supply จากภาพสังเกตว่า Power Supply แบบ ATX นั้นแตกต่างจาก Power Supply แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถังของภาคจ่ายไฟ (Housing of Power Supply) แทนที่จะต่อออกมาด้วยสายเคเบิ้ลแล้วต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power Supply กดอยู่ในตำแหน่งเปิดภาคจ่ายไฟจะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อมีสัญญาณจากเมนบอร์ดส่งผ่านสาย 5 Volt Standby

         
            
    จากการทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ
    Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามาต่อที่ตำแหน่งดังกล่าวเมื่อกดปุ่มสวิตช์คอมพิวเตอร์จะทำให้สถานะของ Power ATX อยู่ในสถานะ On และคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามสำหรับเคสแบบ AT นั้น ไม่มีสายไฟและคอนเนคเตอร์ดังกล่าวทำให้ประสบปัญหาคือจะเอาสวิตช์ที่ไหนมาควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ครั้งหนึ่งในระหว่างการทดสอบเมนบอร์ด AT baby ที่สามารถต่อกับ ATX Power Supply พบว่าเมื่อเปลี่ยนเอา AT Power Supply ออก แล้วเอา ATX Power Supply มาใส่ จะไม่มีสวิตช์สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ แต่ในเคสจะมีสายไฟสำหรับปุ่ม reset และ SMI Green Mode ซึ่งเมื่อพิจารณาการทำงานของ ATX ก็น่าจะนำเอาเข้ามาต่อกับคอนเนคเตอร์ของ Power ATX ได้ จึงนำสายไฟที่มีคอนเนคเตอร์สำหรับ Reset มาต่อเข้ากับตำแหน่ง Power ATX บนเมนบอร์ด และพบว่าสามารถใช้งานควบคุมการปิดเปิดคอมพิวเตอร์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุม ตามฟังก์ชั่น Dual Power Supply ได้ การใช้งานสวิตช์ดังกล่าวก็คือกดปุ่ม Reset (หรือ SMI Green Mode ขึ้นอยู่กับว่านำเอาสายไฟของอะไรไปเสียบลงบน Male connector ของ Power ATX บนเมนบอร์ด อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวทำให้เปิดสวิชต์เครื่องได้แต่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวรการแก้ไขปัญหาเมื่อต้องการเปลี่ยนภาคจ่ายไฟ ATX สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้เคส AT ก็คือหาซื้อสวิตช์รีเลย์มาประยุกต์เพิ่มเติมจะได้ประสิทธิภาพของ ATX Power Supply

    ข้อควรคำนึงเมื่อใช้
    Power Supply แบบ ATX
             1.  สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power Off) คอมพิวเตอร์ผ่านซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ได้ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95
             2.  ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลาเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
             3.  พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น
             4.  การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่ ทำให้ลดอันตรายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินแรงดัน
            
          
          อ้างอิง https://www.google.co.th/?gws_rd=cr#fp=3307d1d89ae16e82&q=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0
    %B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0
    %B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%9F+Po
    wer+Supply
     

               
          

    โมเด็ม (Modem)

    Modem (โมเด็ม)
    โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น

    มาตรฐานโมเด็ม


    V. 22 โมเด็มความเร็ว 1,200 bps
    V. 22bis โมเด็มความเร็ว 2,400 bps
    V. 32 โมเด็มความเร็ว 4,800 และ 9,600 bps
    V. 32bis โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 4,800 7,200 9,600 และ 14,400 bps
    V. 32turbo พัฒนามาจาก V. 32bis อีกทีโดยมีความเร็ว 19,200 bps และสนับสนุนการบีบอัดข้อมูล
    V. 34 ความเร็ว 28,800 bps
    V. 34bis เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันอยู่ช่วงหนึ่ง ความเร็ว 33,600 bps ปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
    V. 42 เกี่ยวกับการทำ Error Correction ในโมเด็ม ช่วยให้โมเด็มเชื่อมต่อเสถียรมากยิ่งขึ้น
    V. 90 เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ความเร็วอยู่ที่ 56,000 bps
    V. 44 พัฒนามาจาก V. 42 และพัฒนาการบีบอัดข้อมูลจาก 4:1 เป็น 6:1
    V. 92 เพิ่มคุณสมบัติการทำงานกับชุมสายแบบ Call Waiting หรือสายเรียกซ้อน


    สามารถแบ่งการใช้งานออกได้เป็น 3 อย่างคือ


    1. Internal
    2. External
    3. PCMCIA

    Internal Modem

    Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ข้อดีก็คือ ไม่เปลืองเนื้อที่ ราคาไม่แพงมากนัก ใช้ไฟเลี้ยงจาก Mainboard ข้อเสียคือ ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ไมสะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้



    Internal Modem

    External Modem

              External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port โดยใช้หัวต่อที่เป็น DB-25 หรือ DB-9 ต่อกับ Com1, Com2 หรือ USB ข้อดีคือ สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ ติดตั้งได้ง่าย ไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย มีราคาค่อนข้างสูง เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐาน V.90 ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มีราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทำหน้าที่นี้แทน ทำให้เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทำให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสายหลุดได้ สำหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทำให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่น ๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น



    External Modem

    PCMCIA

          เป็น Card ที่ใช้งานเฉพาะ โดยใช้กับ Notebook เป็น Card เสียบเข้าไปในช่องสำหรับเสียบ Card โดยเฉพาะสะดวกในการพกพา ในปัจจุบัน Modem สำหรับ Notebook จะติดมาพร้อมกันอยู่แล้วทำให้ความนิยมในการใช้ Card Modem ชนิดนี้ลดน้อยลง

    ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการใช้โมเด็มในการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

    1. คุณภาพของสายทองแดง ระยะทางยาว การต่อสาย หรือหัวต่อต่าง ๆ ทำให้มีปัญหาต่อสัญญาณรบกวน
    2. ไม่ควรใช้สายพ่วง เพราะการพ่วงสายจะทำให้อิมพีแดนซ์ของสายลดต่ำลง และจะมีปัญหาได้ขณะใช้งานถ้ามีคนยกหูโทรศัพท์เครื่องพ่วงสายจะหลุดทันที
    3. ต้องไม่เปิดบริการเสริมใด ๆ สำหรับสายที่ใช้โมเด็ม เช่น เปิดให้มีสายเรียกซ้อน การรับสัญญาณอื่นขณะใช้โมเด็มจะทำให้การเชื่อมโยงหยุดทันที
    4. หากชุมสายที่บ้านเชื่อมอยู่ต้องผ่านหลายชุมสาย หรือต้องผ่านระหว่างเครือข่ายของบริษัทบริการโทรศัพท์
    5. คุณภาพของโมเด็มที่ใช้ ปัจจุบันมีโมเด็มที่ผลิตหลากหลาย และมีคุณภาพแตกต่างกัน การแปลงสัญญาณอาจมีข้อแตกต่าง
           
         อ้างอิง https://www.google.co.th/?gws_rd=cr#fp=3307d1d89ae16e82&q=%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%A1+(modem)

    การ์ดแลน (LAN Care)


    การ์ดแลนคืออะไร


    LAN Card
                การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น

    การเลือกซื้อการ์ดแลน

    สำหรับเครื่องคอมฯ ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)
    • สามารถเลือกซื้อการ์ดแลนเป็นแบบติดตั้งภายใน หรือจะซื้อแบบเชื่อมต่อภายนอกแบบ USB ก็ได้ แต่ราคาจะสูงกว่าแบบติดตั้งภายในมาก
    สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Computer)
    • โดยปกติ Notebook ทุกรุ่นในปัจจุบัน จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อแบบสาย (Wire) และแบบไร้สาย (Wireless) มาให้ด้วยเสมอ แต่ถ้ามีปัญหา สามารถซื้อมาเพิ่มเติมได้ในแบบที่เป็น USB หรือจะซื้อแบบ PCMCIA ได้ (ถ้า Notebook ของเรามี port ชนิดนี้อยู่)

    พอร์ตการเชื่อมต่อการ์ดแลน

            ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อภายใน (สำหรับ Desktop Computer) เวลาเลือกซื้อต้องสอบถามให้ดีว่า เป็นุร่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อแบบไหน เช่น ISA (รุ่นนี้โบราณแล้ว อย่าซื้อ! ถ้าไม่จำเป็น), PCI รุ่นใหม่ เป็นต้น ส่วนราคาในปัจจุบันถูกลงมากๆ ครับ แค่หลักร้อยบาทเท่านั้น แต่อีกจุดหนึ่งที่ควรทราบคือ ความเร็ว ซึ่งแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ อาจมีความเร็วที่ต่างกันเช่น 10/100/1000 MBPS เรียกว่าถ้ามีตัวเลข 1000 ก็สามารถเลือกซื้อได้เลย

          อ้างอิง http://it-guides.com/training-a-tutorial/network-system/about-lan-card

    ฮับ (Hub)

              Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
              การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับ Hub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือ Switch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่ 10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น แต่ถ้าเป็น Switch อัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน
         
          อ้างอิง http://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic=33.0